Skip links

หมดยุคพี่ว้าก ยกเลิกกิจกรรมรับน้อง คฑากร และเชียร์ลีดเดอร์ กับมุมมองของคนไทยผ่าน Social Listening

ยกเลิกกิจกรรมรับน้อง

“กิจกรรมรับน้อง” หรือ “ระบบโซตัส” ตามสถาบันการศึกษาที่มีมานาน หลายครั้งกิจกรรมที่แอบแฝงไปด้วยความรุนแรง การทำร้ายร่างกาย ค่านิยม ระบบต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในกิจกรรมจากรุ่นพี่บางคนที่ต้องการโชว์ หรืออะไรก็ตาม ผลลัพธ์มันเกินกว่าใครจะคาดถึงทั้งน้องที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิต ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว เมื่อหลายมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาได้ประกาศยกเลิกกิจกรรมรับน้อง คฑากร และเชียร์ลีดเดอร์ ทำให้คนไทยในโซเชียลหันมาสนใจไม่น้อยกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

RealSmart ได้รวบรวมข้อมูลผ่าน Social Listening เกี่ยวกับการยกเลิกกิจกรรมรับน้อง คฑากร และเชียร์ลีดเดอร์ทั้งความคิดเห็น มุมมอง และประเด็นที่ได้รับความสนใจจากคนไทยในโซเชียลมาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกัน มาเริ่มกันเลย

ความคิดเห็นกิจกรรมรับน้อง

จากข้อมูลที่ Real Smart ได้รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบความคิดเห็นส่วนใหญ่ของคนไทยเกือบทั้งหมดไปในทิศทางเดียวกัน 

ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการยกเลิกกิจกรรมรับน้องให้หมดทุกสถาบัน ทุกแห่ง ทุกระดับชั้น และสมควรทำมานานแล้ว รวมถึงควรออกกฎหมายให้กับทุกมหาวิทยาลัยยกเลิกการรับน้องแบบไร้มนุษยธรรมที่เน้นความสะใจของรุ่นพี่

บางกลุ่มมองว่าทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสีย แต่การรับน้องสมัยนี้มีข้อเสียมากกว่าข้อดี และกิจกรรมรับน้องควรเป็นกิจกรรมทางเลือก ไม่ควรบังคับใคร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการจบการศึกษา

เจาะลึกในประเด็นที่ถูกพูดถึงและให้ความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์

จากข้อมูลที่ RealSmart รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบประเด็นเกี่ยวกับการยกเลิกกิจกรรมรับน้องที่ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์อยู่ 2 ประเด็น คือ ยกเลิกกิจกรรมรับน้องในสถาบันการศึกษา และ ต่อต้าน Beauty Privilege ปีนี้ไม่มีจุฬาคฑากร  ซึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจ ที่นี่เรามาเจาะลึกไปทีละประเด็นกัน

“ยกเลิกกิจกรรมรับน้องในสถาบันการศึกษา” 

พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 50% คนไทยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการยกเลิกกิจกรรมรับน้อง

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 13% บอกว่าทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสีย แต่ตอนนี้กิจกรรมรับน้องมีแต่ข้อเสีย และบางส่วนอยากให้มีกิจกรรมอยู่ แต่ไม่อยากให้มึความรุนแรงเกิดขึ้น

สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 37% มองว่ากิจกรรมรับน้องควรเป็นกิจกรรมทางเลือก ไม่ควรบังคับ หรือเป้นส่วนหนึ่งของการจบการศึกษา

ซึ่งจากภาพรวมจะพบว่าความคิดเห็นทั้งหมดต่อให้แยกออกเป็นแต่ละ Sentiment แล้วก็ตาม แต่เรายังคงพบความคิดเห็นส่วนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกัน คือ ต้องการให้ยกเลิกกิจกรรมรับน้อง

“ต่อต้าน Beauty Privilege ปีนี้ไม่มีจุฬาคฑากร” 

พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 35% ประชาชนสนับสนุนความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม หยุดเลือกปฏิบัติต่อคนบางกลุ่มไม่ว่าจะเป็นสีผิว หน้าตา หรือรูปร่าง

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 16% บอกว่าคฑากรเลือกที่หน้าตาก็เหมาะสมอยู่แล้วทำให้มีสีสันมากขึ้น

สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 49% มองว่าแก้ปัญหาผิดวิธี หากไม่สนับสนุนเรื่อง Beauty Privilege ควรจะออกเกณฑ์การคัดเลือกผู้นำเชียร์ และอื่น ๆ นอกจากหน้าตา

พบว่า Top Engagement บนช่องทาง Facebook Twitter และ YouTube  ทั้ง 3 ช่องทางมีผู้โพสต์ที่แต่ต่างกันทั้งนักข่าว สำนักข่าว และสถาบันการศึกษา ทำให้ได้รับความสนใจจากคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือเข้าใจกิจกรรมรับน้องนั้นเอง

Top #Hashtag ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการยกเลิกกิจกรรมรับน้องนั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่เป็นภาษาไทย  #ระบบโซตัส  #รับน้อง  #โซตัส  และอื่น ๆ หากใครสนใจสามารถไปตามดูใน Hashtag เกิดขึ้นได้เช่นกัน  

ไว้ครั้งหน้า RealSmart จะนำเอา Data มาวิเคราะห์แล้วนำมาเล่าให้ฟังอีก  หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสามารถคลิกอ่าน RealTrend Blog และก็อย่าลืมกดติดตาม RealSmart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ RealSmart เท่านั้น