Skip links

โครงการประกวดรางวัล
Real Impact Awards 2565

โครงการประกวดรางวัล

Real Impact Awards 2565

หลักการและเหตุผล

ในการดำเนินธุรกิจ ทุกองค์กรล้วนแล้วแต่มุ่งหมายที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคงและมีความยั่งยืน แนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทชั้นนำทั่วโลกจึงให้ความสนใจกับแนวคิดเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม พลังงานสะอาด เรื่องของสังคม และหลักธรรมาภิบาล ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากการที่บริษัทต่าง ๆ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์และกระบวนการดำเนินงานของบริษัทที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดหลักเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนครอบคลุมใน 3 เรื่องสำคัญ คือ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือใช้คำเรียกสั้น ๆ ว่า ESG

บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด บริษัทของคนไทยและเป็นผู้นำธุรกิจการให้บริการเทคโนโลยีการตลาด (Marketing Technology : MarTech) มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ Big Data ข้อมูลดิจิทัลเชิงลึกโดยใช้เครื่องมือ Social Listening ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการตลาดที่ใช้ในการติดตาม จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากบทสนทนาต่าง ๆ ของผู้คนในสังคมที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม

บริษัท ฯ ยังมีเชี่ยวชาญในการวางกลยุทธ์การสื่อสารออนไลน์และออฟไลน์ให้กับลูกค้าในหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นผู้ดูแลกิจกรรมการตลาดให้กับสินค้ามากกว่า 100 แบรนด์

ด้วยเล็งเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในโลกออนไลน์ไม่ได้แตกต่างจากการดำเนินธุรกิจในลักษณะเดิม ธุรกิจยังต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล หรือการบริหารจัดการที่ดีทั้งยังอาจจำเป็นจะต้องวางกลยุทธ์ที่รอบคอบและครอบคลุมยิ่งกว่าเพราะการสื่อสารในช่องทางออนไลน์สามารถเผยแพร่ออกไปในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงาน องค์กรและบุคคลที่ให้ความสำคัญกับการนำแนวคิด ESG มาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจและสามารถสร้างความแตกต่างให้เห็นได้ชัดในช่องทางออนไลน์  โดยการจัดโครงการประกวดรางวัล Real Impact Awards 2565 ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้เพื่อยกย่ององค์กรที่มีกระบวนการในการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่องค์กรอื่น ๆ 

ทั้งนี้ บริษัทฯ จะนำความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีการตลาดกับการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือค้นหาผลงานขององค์กรที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์และสร้างผลเชิงบวกรวมถึงการเปลี่ยนแปลงได้จริง

ESG แนวทางสู่ความยั่งยืนเพื่ออนาคตสดใส

องค์การสหประชาติได้ประกาศ 17 ชุดเป้าหมายการพัฒนาในระดับโลกไว้ในปี 2558 เพื่อให้ทุกประเทศนำไปปรับใช้เป็นแนวทางพัฒนาสู่ความยั่งยืน

หลายปีที่ผ่านมา เราทุกคนจึงได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์โลกให้น่าอยู่ได้มากขึ้นและจะยังคงร่วมมือกันดูแลโลกใบนี้เพื่อส่งต่ออนาคตที่ดีจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป โดยในภาคธุรกิจ การพัฒนาสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนได้ถูกนำมาเน้นย้ำอีกครั้งในการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ปี 2565 

ESG เป็นกรอบแนวทางการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจโดยผนวกเข้าไว้ในนโยบายและกระบวนการดำเนินงานควบคู่กันไปใน 3 มิติ

  1. สิ่งแวดล้อม (E-Environment) การมีส่วนร่วมในการรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากธุรกิจ
  2. สังคมและชุมชน (S-Social) การดูแลสังคมอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมทั้งภายในและภายนอกองค์กร  
  3. ธรรมาภิบาล (G-Governance) การกำกับกิจการที่ดี มีการดำเนินงานอย่างโปร่งใส เป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

ESG ยังใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ โดยกลุ่มนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศต่างเพิ่มการพิจารณาประเด็น ESG ให้เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงด้านการลงทุนที่นักลงทุนใช้ประกอบการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ส่งผลให้ธุรกิจมีการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG อย่างเป็นรูปธรรมผ่านกระบวนการทำงาน หรือกิจกรรมใดๆ ที่ส่งผลเชิงบวกและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นต่อทุกฝ่ายทั้งตัวบุคคล ชุมชน สังคมและโลกของเรา

Social Listening สะท้อนเสียงโลกออนไลน์ ชี้ขาดว่ากิจกรรมขององค์กรสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมได้จริง !

Real Impact Awards 2565 เป็นรางวัลที่ไม่ได้เปิดรับสมัครให้ส่งแผนงานมาเพื่อพิจารณา เช่นนั้นแล้วจะค้นพบผู้ที่เหมาะสมสำหรับรางวัลได้อย่างไร ?

บริบททางสังคมที่เปลี่ยนไปและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้ผู้คนและองค์กรธุรกิจพาตัวเองมาอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น การฟังเสียงสะท้อนเรื่องราวต่าง ๆ จากโลกออนไลน์จึงเสมือนการรับฟังเสียงสะท้อนจากโลกจริงเช่นเดียวกัน  

เสียงสะท้อนจากโลกออนไลน์จะเป็นข้อบ่งชี้ว่ากิจกรรมที่องค์กรได้ดำเนินการไปนั้นได้สร้างความยั่งยืน สร้างผลเชิงบวกและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ 

จึงเป็นความท้าทายใหม่สำหรับ บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด ในการนำความเชี่ยวชาญที่สั่งสมประสบการณ์มานานกว่า 15 ปีในฐานะผู้นำธุรกิจการให้บริการด้านเทคโนโลยีการตลาด (MarTech) สำหรับธุรกิจด้วยการใช้เครื่องมือ Social Listening เก็บข้อมูลจากสื่อโซเชียลทุกแพลตฟอร์มมาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและทำให้โครงการ Real Impact Awards 2565 ค้นพบผู้ที่เหมาะสมสำหรับรางวัลนี้

วัตถุประสงค์

โครงการประกวดรางวัล Real Impact Awards 2565

เพื่อส่งเสริมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และ หลักธรรมาภิบาล (ESG) และนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อยกย่ององค์กร แบรนด์ หรือตัวบุคคลที่ใช้สื่อโซเชียลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและสร้างความแตกต่างในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

เพื่อสร้างมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ กิจกรรมการตลาดในช่องทางออนไลน์ ที่มี ESG เป็นแนวคิดหลัก

เพื่อสร้างมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ กิจกรรมการตลาดในช่องทางออนไลน์ ที่มี ESG เป็นแนวคิดหลัก

ประเภทรางวัล Real Impact Awards 2565

แบ่งเป็น 3 ประเภท

รางวัลด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม (Environment)

เป็นรางวัลสำหรับองค์กรหรือบุคคลที่ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานที่สะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกบริบทที่องค์กรหรือบุคคลนั้นๆ เป็นส่วนหนึ่ง เช่น ปัญหาเรื่องขยะ น้ำเสีย มลพิษทางอากาศ ฯลฯ จำนวน 4 รางวัล คือ

  • Real Impact Organization / Brand of the Year Award (Environment)
    รางวัลสำหรับองค์กรหรือแบรนด์สินค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (นวัตกรรมหรือกิจกรรม)
  • Real Impact Award – Public Sector (Environment)
    รางวัลสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่มีการดำเนินงานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม
  • Real Impact Award – Charitable / Non-profit Organization (Environment)
    รางวัลสำหรับองค์กรไม่แสวงหากำไรหรือองค์กรการกุศลที่มีการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมดีเด่น
  • Real Impact Influencer of the Year Award (Environment)
    รางวัลสำหรับผู้นำทางความคิด หรือ Influencer (ที่มีผู้ติดตามจำนวน 20,000 รายขึ้นไป) ที่สนับสนุนการทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
รางวัลด้านการส่งเสริมสังคม (Social)

เป็นรางวัลสำหรับองค์กรหรือบุคคลที่มีการจัดการหรือกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อช่วยลดปัญหาของสังคม สะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจในประเด็นปัญหาของสังคม เช่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ความเลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม การศึกษา ฯลฯ จำนวน 4 รางวัล คือ

  • Real Impact Organization / Brand of the Year Award (Social)
    รางวัลสำหรับองค์กรหรือแบรนด์สินค้าที่มีแนวทางปฏิบัติและกิจกรรมที่ส่งเสริมสังคม
  • Real Impact Award – Public Sector (Social)
    รางวัลสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่มีการดำเนินงานตามนโยบายเพื่อช่วยลดปัญหาของสังคม
  • Real Impact Award – Charitable / Non-profit Organization (Social)
    รางวัลสำหรับองค์กรไม่แสวงหากำไรหรือองค์กรการกุศลที่มีการทำงานด้านช่วยลดปัญหาของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างชัดเจน
  • Real Impact Influencer of the Year Award (Social)
    รางวัลสำหรับผู้นำทางความคิด หรือ Influencer ที่มีแนวคิดและผลงานที่สร้างความแตกต่างแก่สังคมและผู้ที่ติดตาม
รางวัลด้านธรรมาภิบาล (Governance)

เป็นรางวัลสำหรับองค์กรที่มีการบริหารจัดการธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน  จำนวน 1 รางวัล คือ   Real Impact Champion 2565 Award

เกณฑ์การตัดสินรางวัล

เนื่องจาก Real Impact Awards 2565 เป็นรางวัลสำหรับองค์กรหรือบุคคลที่มีแนวทางการดำเนินงานโดยยึดหลักเกณฑ์และแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) และกิจกรรมเหล่านั้นปรากฏในช่องทางออนไลน์ ดังนั้น จึงไม่มีการยื่นเอกสารการประกวดแต่อย่างใด

เครื่องมือ Social listening สามารถวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ด้านต่างๆ รวมถึงการสนทนาของผู้คนในโลกออนไลน์โดยแสดงสถิติชี้วัดและเปรียบเทียบระดับคะแนนซึ่งบ่งชี้ว่ากิจกรรมที่องค์กรได้ดำเนินการไปนั้นได้สร้างความยั่งยืน สร้างผลเชิงบวกและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ คณะกรรมการโครงการประกวดรางวัล Real Impact Award พิจารณาเกณฑ์การตัดสินรางวัลโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจาก Social listening ตามประเภทของรางวัลที่ได้กำหนดไว้

ระยะเวลาโครงการ

โครงการประกวดรางวัล
Real Impact Awards 2565
แบ่งเป็น 3 ระยะ

  1. การเผยแพร่โครงการและเตรียมการเก็บข้อมูลโดยใช้ Social Listening โดยค้นหาและรวบรวมช่วงข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2565
  2. การพิจารณาตัดสินรางวัล
  3. ประกาศผลการตัดสินและพิธีมอบรางวัล (เดือนมิถุนายน 2566) 

แนวทางการพิจารณามอบรางวัล Real Impact Awards 2565

สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

  1. มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้การริเริ่มขององค์กรเอง
    • การมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่มและส่งเสริม ให้มีนโยบายหรือกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร อยู่ในทุกระดับขององค์กร และผู้บริหารสนับสนุน
    • มีการกำหนดแผนงานในการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม / กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และมีกำกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ
    • มีการติดตามความคืบหน้าและประเมินผลของการดำเนินงานที่เป็นไปตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและรายงานผลต่อผู้บริหาร
  2. มีการดำเนินงานโครงการไปแล้วอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป
  3. มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในแพลตฟอร์มออนไลน์
  4. มี Engagement ของโครงการ โดยบุคคลภายนอกหรือพนักงาน
  5. สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่ชุมชน หรือ ประชาชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม

หมายเหตุ: การวัดผลลัพธ์ของโครงการทางด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการวัดในเชิงคุณภาพ มากกว่าเชิงปริมาณ

สำหรับบุคคล(Influencer)

  1. มีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
    • มีการติดตามความคืบหน้าและประเมินผลของกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. มีการดำเนินงานโครงการไปแล้วอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป
  3. มีการสื่อสารกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในแพลตฟอร์มออนไลน์ ด้วยตัวบุคคลเอง หรือสื่อมวลชน
  4. มี Engagement ของโครงการ (Like, Comment, Share)
  5. สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่ชุมชน หรือ ประชาชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม

สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

  1. มีนโยบายด้านสังคมภายใต้การริเริ่มขององค์กรเอง
    • การมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่มและส่งเสริม ให้มีนโยบายหรือกิจกรรมด้านสังคมขององค์กร อยู่ในทุกระดับขององค์กร และผู้บริหารสนับสนุน
    • มีการกำหนดแผนงานในการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม / กิจกรรมด้านสังคม มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และมีกำกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดหรือผลลัพธ์ที่ต้องการ
    • มีการติดตามความคืบหน้าและประเมินผลของการดำเนินงานที่เป็นไปตามนโยบายด้านสังคมและรายงานผลต่อผู้บริหาร
  2. มีการดำเนินงานโครงการไปแล้วอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป
  3. มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมด้านสังคมในแพลตฟอร์มออนไลน์
  4. มี Engagement ของโครงการ โดยบุคคลภายนอกหรือพนักงาน
  5. สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่ชุมชน หรือ ประชาชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม

หมายเหตุ: การวัดผลลัพธ์ของโครงการทางด้านสังคม เป็นการวัดในเชิงคุณภาพ มากกว่าเชิงปริมาณ

สำหรับบุคคล(Influencer)

  1. มีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมด้านสังคมอย่างชัดเจน
    • มีการติดตามความคืบหน้าและประเมินผลของกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. มีการดำเนินงานโครงการไปแล้วอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป
  3. มีการสื่อสารกิจกรรมด้านสังคมในแพลตฟอร์มออนไลน์ ด้วยตัวบุคคลเอง หรือสื่อมวลชน
  4. มี Engagement ของโครงการ (Like, Comment, Share)
  5. สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่ชุมชน หรือ ประชาชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  1. เป็นกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 
  2. มีนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างชัดเจน
    • มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานในระดับองค์กร ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
    • มีการส่งเสริมและสื่อสารให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล
    • เป็นองค์กรที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน (มีผลประกอบการ ความพึงพอใจของพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)
    • ดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค และสร้างความตระหนักถึงการเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลให้แก่ลูกค้าหรือผู้บริโภค
  3. มีการสื่อสารในโลกออนไลน์ ถึงการดำเนินงานขององค์กรที่สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลที่ดี

Testimonial

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ประธานคณะกรรมการ

โครงการประกวดรางวัล Real Impact Awards 2565

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ

อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะกรรมการ

โครงการประกวดรางวัล Real Impact Awards 2565

คุณทัศนีย์ ผลชานิโก

คุณทัศนีย์ ผลชานิโก

รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
สำนักนายกรัฐมนตรี
ดร.ภาสกร ประถมบุตร

ดร.ภาสกร ประถมบุตร

รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

ดร.เมทินี พงษ์เวช

ผู้อำนวยการสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
คุณยุทธ วรฉัตรธาร

คุณยุทธ วรฉัตรธาร

อดีตกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ใหม่ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านบรรษัทภิบาลและ ความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี

ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี

ประธานมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน และอดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

ดร.ศิริกุล เลากัยกุล

ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แบรนด์บีอิ้ง จำกัด และบริษัท บีอิ้ง ซัสเทน จำกัด
คุณสันติวิภา พาณิชกุล

คุณสันติวิภา พาณิชกุล

อนุกรรมการยกร่างยุทธศาสตร์ชาติ ที่ 5 กรรมการบริหาร รองประธานคณะกรรมการจัดการความรู้ สถาบันลูกโลกสีเขียว
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี

ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

นายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

รายชื่อองค์กรและบุคคลที่ได้รับรางวัล

ข่าวสารและกิจกรรม