Skip links

ศึกชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ใครมา ใครแรง มาดูกัน

เดินหน้าหาเสียงกันอย่างดุเดือดกับเหล่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีที่คนกรุงเทพฯ จะได้มีสิทธิมีเสียงเลือกผู้นำใหม่กันสักที

เรื่องนี้กลายเป็นที่จับตามองกันอย่างมากไม่ใช่แค่เฉพาะคนในพื้นที่เท่านั้น แต่คนจังหวัดอื่น ๆ ก็สนใจการเลือกตั้งครั้งนี้เช่นกัน ทาง Real Smart ได้ใช้ Social Listening Tools เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระแสการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในโลกออนไลน์ และได้ทำการแบ่งเป็นประเด็นต่าง ๆ ออกมา

คุณอาจได้เห็นมุมมองต่าง ๆ หรืออะไรที่เปลี่ยนไปของคนไทยในโลกออนไลน์ที่มีต่อเรื่องนี้ แล้วมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มาเริ่มกันเลยดีกว่า….

เริ่มตั้งแต่ Timeline ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มมีกระแสการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เรามาดูกันสิว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ประเด็นนี้เริ่มมีการเคลื่อนไหวตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2564 ได้มี Facebook ส่วนตัวโพสต์ถึง คุณชัชชาติ หนึ่งในผู้สมัครเป็นตัวเต็งที่จะได้ตำแหน่ง เพราะว่าได้รับความนิยมสูงจากผู้คน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2564 Twitter ส่วนตัวได้ Tweet ถึงโปรไฟล์ของผู้ลงสมัครเลือกตั้งว่าแต่ละคนมีผลงานอะไรมาบ้างที่ผ่านมา

จากนั้นเพียงแค่ 2 วัน กระแสเริ่มจุดติดขึ้นมากกว่าเดิมในช่วงวันที่ 12 ธันวาคม 2564 เนื่องจากมี Twitter ของคนที่มีชื่อเสียง Tweet ถึงคุณสุชัชวีร์ ที่ไม่น่าเข้าไปอยู่ในสังกัดพรรคการเมืองนี้เลย 

ได้รับเลือกเข้าพรรคการเมืองหนึ่ง วันที่ 13 ธันวาคม 2564 คนไทยให้ความสนใจมากขึ้น หลังจากที่มีผลสำรวจออกมาว่าคนส่วนใหญ่นิยม คุณชัชชาติ มากกว่าผู้สมัครคนอื่น ๆ แต่ได้มี Twitter ส่วนตัวได้ Tweet ว่าอย่าประมาทหรือดูถูกผู้สมัครคนอื่น ๆ เพราะฐานเสียงสนับสนุนก็ไม่น้อยเช่นกัน

วันที่ 14 ธันวาคม 2564 ท่านผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุที่ไม่ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในครั้งนี้ เพราะไม่อยากรับงานยาก วุ่นวาย และท่านพึ่งรับตำแหน่งผู้ว่าฯ ปทุมธานี หลังจากที่ข่าวออกมา คุณศิโรตม์ ผู้สื่อข่าวช่อง VOICE TV  ได้โพสต์ผ่าน Facebook ส่วนตัว ชื่นชมผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ที่ไม่ลงสมัครเลือกตั้งในครั้งนี้ ทำให้คนในโลกออนไลน์สนใจเป็นอย่างมาก 

ยิ่งในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 เป็นวันที่พีคที่สุด เมื่อมี Twitter ส่วนตัว Tweet ประเด็นเกี่ยวกับการเลือกคนที่เข้ามารับตำแหน่งนี้ ต้องเลือกให้ดี และการหาเสียงของผู้ลงสมัครแต่ละคน

ในวันที่ 16 ธันวาคม 2564 กระแสเริ่มตกลง ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น รู้แล้วว่ามีผู้ลงสมัครเป็นใคร มีนโยบายอย่างไร จึงทำให้ตัดสินใจเลือกไปแล้ว จากนั้นก็ไม่สนใจเรื่องนี้เท่าที่ควรจะเป็นอีก จากนั้นมี Twitter ส่วนตัวออกมาผู้ถึงการที่รัฐบาลไม่ยอมกำหนดวันและเวลาการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ให้ชัดเจน รวมถึงช่อง YouTube อย่าง TOPNEWS อัปเดตสถานการณ์การหาเสียงของผู้ลงสมัครที่ได้เดินหน้ากันอย่างเต็มที่

รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมต.ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ซึ่งตอนนี้คะแนนผลโหวตจากการสำรวจนำโด่งเลยทีเดียว

สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หนุ่มอินเตอร์ โปรไฟล์ดี ที่มาพร้อมการหาเสียงที่เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่ใช่น้อย

รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ ลงสมัครในนาม “อิสระ”

อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน ขอลุยการเลือกตั้งนี้อีกรอบ

ต่อมาเรามาดูความรู้สึก (Sentiment) โดยรวมของคนไทยในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

Positive Sentiment 21% มองว่าหลายคนมีผลงานที่ดีน่าจับตามอง และชอบคนที่มีวิสัยทัศน์ ความคิดริเริ่ม ความรับผิดชอบ กล้าทำ กล้าตัดสินใจ พร้อมสนับสนุนคนเก่ง และเพียบพร้อมไปด้วยคุณวุฒิความรู้ด้านต่าง ๆ รวมถึงประชาชนดีใจที่จะได้เลือกตั้ง

Neutral Sentiment 46% อยากให้ผู้ที่ได้รับเลือกนั้นปฏิบัติหน้าที่บนความถูกต้องเสมอ และทำตามนโยบายที่เคยกล่าวไว้ อีกทั้งผู้ว่าฯ มีหน้าที่สำคัญคือ ทำงานจริงได้ แก้ปัญหาให้ชาวกรุงเทพฯ ได้และต้องมีความเด็ดขาดด้วยตัวเอง ทำทุกทางเพื่อตอบโจทย์สังคมคนกรุงเทพฯ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน

Negative Sentiment 33% อยากได้คนใหม่ที่พัฒนาได้จริง ๆ ไม่ใช่ไม่ทำงานหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง โกงกินภาษีประชาชน ไม่รับฟังปัญหา ไม่ทำงานสร้างภาพอย่างเดียว

ในภาพรวมของ Positive และ Neutral Sentiment ด้านความรู้สึกของคนไทยในโลกออนไลน์ที่รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พวกเขา อยากได้คนเก่งที่พร้อมพัฒนาบ้านเมืองไปในทิศทางที่ดี ขยัน เก่ง ปฏิบัติหน้าที่บนความถูกต้อง รับฟังปัญหาของประชาชน ทุกคนพร้อมที่จะสนับสนุนคนเก่ง แต่ Negative Sentiment มองว่าคนที่เข้ามาทำหน้าที่ก็หวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตน โกงกินภาษีประชาชน ไม่ทำงาน พัฒนาอยู่แล้ว

หลังจากที่เราดูภาพรวมความรู้สึกและความคิดเห็นของคนไทยในโลกออนไลน์แล้ว จึงได้ทำการเจาะลึกลงไปในประเด็นต่าง ๆ ที่คนพูดถึงและให้ความสนใจเยอะ ลองมาดูไปทีละประเด็นกัน

“ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ ยอดนิยม”

Positive (ความเห็นเชิงบวก) 12% มองว่าผู้สมัครทุกคนมีผลงานด้านการทำงานดีเยี่ยม ขอให้ทุกคนตั้งใจทำงาน ซื่อสัตย์ ไม่โกงกินบ้านเมือง

Neutral (ความเห็นเชิงทั่วไป) 37% มองว่าทุกคนคือความหวังของคนกรุงเทพฯ หลังจากที่รอการเลือกตั้งมานาน ใกล้เวลาได้เลือกใหม่สักที

Negative (ความเห็นเชิงลบ) 51% มองว่าพอได้รับตำแหน่งมีอำนาจก็ลืมประชาชน โกงกินงบประมาณ ไม่พัฒนาบ้านเมือง มีแต่สร้างภาพ ไม่มีผลงานที่ทำให้ประชาชนพึงพอใจได้เลย

“ความน่าสนใจของการเลือกตั้งครั้งนี้”

Positive (ความเห็นเชิงบวก) 32% มองว่าเป็นความท้าทายของผู้สมัครหน้าใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงกรุงเทพมหานคร และเป็นที่น่าสนใจของคนกรุงเทพฯ ในเรื่องนโยบายต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

Neutral (ความเห็นเชิงทั่วไป) 41% อยากให้คนที่เข้ามาเป็นคนเก่ง และพัฒนากรุงเทพฯ ไปในทางที่ดี แต่ก่อนที่จะเลือกขอดูนโยบายก่อนตัดสินใจ

Negative (ความเห็นเชิงลบ) 27%  มองว่านักการเมืองมีแต่โกงกินภาษีของประชาชน

Top 3 on Facebook Engagement

ทั้ง 3 Facebook page มีผู้ติดตามที่ค่อนข้างเยอะจากการที่ต้องการติดตามข่าวสารบ้านเมืองจนถึงข่าวทั่วไป จึงทำให้ได้รับยอด Engagement เยอะพอสมควร

Top 3 on YouTube Engagement

ช่องทาง YouTube เป็นอีกช่องทางที่ทุกคนเข้ามาเสพข่าวสารกันได้เสมอ โดยทั้ง 3 ช่องเป็นช่องของสำนักข่าวชื่อดังระดับประเทศ ทำให้มี  Engagement สูง


Top #Hashtag ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกระแสการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนจะเป็น #ผู้ว่ากทม #เปลี่ยนกรุงเทพ #ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอื่น ๆ หากใครสนใจสามารถไปตามดูใน Hashtag เกิดขึ้นได้เช่นกัน

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้ยังไม่มีวันและเวลาที่แน่นอน แต่จะจัดในช่วงกลางปี 2565 ซึ่งเราต้องติดตามดูนโยบายการหาเสียงกันต่อไป ลองดู ลองตัดสินใจเลือกใครสักคนเข้ามาเปลี่ยนแปลงกรุงเทพมหานครของคุณกัน

หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าลืมกดติดตาม Real Smart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น