Skip links

4 เทรนด์ผู้บริโภคในวันที่โลกรวน

สวัสดีทุกคน ตอนนี้เราก็เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 ใกล้จะเข้าสู่ปี 2023 กันแล้ว หลาย ๆ สำนักบอกไว้ว่าเทรนด์ธุรกิจ ESG กำลังมาแรง ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบนั้นก็คือเรื่องสิ่งแวดล้อม (Environment) นั่นเอง วันนี้ทาง Real Smart เลยขอชวนคุยเรื่องเทรนด์ผู้บริโภค ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Climate Change หรือภาวะโลกรวน / โลกร้อนที่ทุกคนคุ้นเคย

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องโลกรวนอย่างต่อเนื่อง

หลาย ๆ คนคงรู้สึกคล้ายกันใช่มั้ยว่า ในปีนี้ สภาวะอากาศต่าง ๆ มีความแปรปรวนมากขึ้นกว่าปีก่อน ๆ ส่งผลกระทบไปทั่วโลกอย่างที่ทุกคนอาจจะพอเห็นข่าวผ่านตาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์เมษาหน้าหนาวในไทยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา, ฝนตกหนักที่สุดในรอบ 80 ปีที่กรุงโซล เกาหลีใต้ เป็นต้น  ซึ่งเมื่อเราลองสำรวจเทรนด์การค้นหาผ่าน Google Search Trend ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกรวน / โลกร้อน ก็จะพบว่าคนไทยให้ความสำคัญกับประเด็นต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งใน Social Media เองในช่วงเมษายนที่ผ่านมา เราก็พบว่า Hashtag #lettheearthbreath ที่เกิดจากการประท้วงของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษประท้วงรัฐบาลให้หยุดโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลเพราะจะเกิดผลกระทบต่อโลกร้อน เป็นกระแสไปทั่วโลก รวมถึงในไทยเองก็มีคนพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รวมถึงรณรงค์ให้หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพื่อภาวะโลกรวน สูงถึง ​1.8 ล้าน Mention เลยทีเดียว 

ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนได้รู้เทรนด์ผู้บริโภคมากขึ้นว่าเขากำลังให้ความสำคัญในประเด็นใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกรวน / โลกร้อน วันนี้เราเลยสำรวจเทรนด์ของผู้บริโภคในโลกออนไลน์ผ่าน Social Listening เพื่อที่แบรนด์จะได้เข้าใจและพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับเทรนด์ของผู้บริโภค รวมถึงนักการตลาดก็สามารถออกแบบการสื่อสารได้ตรงใจเช่นกัน

ภาวะโลกรวนเกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างไร?

4 เทรนด์ผู้บริโภคไทยในวันที่โลกรวน มีอะไรบ้าง?

เราลองสำรวจเทรนด์ผู้บริโภคในช่องทางออนไลน์ โดยใช้เครื่องมือ Social Listening เราพบประเด็นและเทรนด์ของผู้บริโภค ในปี 2022 ที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกรวนที่น่าสนใจต่าง ๆ ดังนี้

  1. ผู้บริโภคใส่ใจในการลดและการจัดการปัญหาขยะเพิ่มขึ้น โดยใน Social Media มีการพูดถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องนี้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะ การเพิ่ม/ ลด การแยกขยะ ใน 6 เดือนที่ผ่านมา หัวข้อนี้มีการกล่าวถึงรวมกว่า 1.1 ล้านครั้ง เติบโตขึ้น 64% โดยกลุ่มที่ Active เรื่องนี้มากที่สุดก็คือ กลุ่ม gen z อายุระหว่าง 18 – 24 ปี นั่นเอง

โดยผู้บริโภคส่วนใหม่อยากให้แบรนด์และสังคมตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น โดยเราขอยกตัวอย่างสินค้าที่ได้ผลตอบรับดีเมื่อแบรนด์ออกแบบผลิตภัณฑ์​ ด้วยความใส่ใจในการแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยตรง 

นักวิจัยไทยออกแบบซองเครื่องปรุงกินได้จากฟิล์มเศษหนังปลา ได้รับ Engagement รวม 100,000 Engagement

ยูนิโคล่ เปิดตัวแคมเปญ “JOIN: The Power of Clothing” น้อง “โดราเอมอนโหมดความยั่งยืน” โดยพระเอกของแคมเปญนี้คือ น้องโดราเอมอนสีเขียวที่ผลิตจากเส้นใยรีไซเคิล เพื่อลดประมาณขยะพลาสติก ได้รับ Engagement สูงเกือบ 30,000 Engagement อันนี้น่าสนใจว่า แม้ว่าภาพจำของคนทั่วไปจะคือโดราเอมอนสีฟ้า แต่เมื่อแบรนด์คิดถึงสิ่งแวดล้อมและใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คนก็พร้อมสนับสนุน

ตัวอย่าง Feedback

“เจอตอนแรกก็งงทำไมน้องสีเขียว จนต้องไปอ่านป้าย สรุปน้องมีส่วนผสมของโพลิเมอร์ที่นำมารีไซเคิลเพื่อลดปริมาณขยะ น้องเลยมีสีเขียวอารมณ์รักโลกไรงี้ ใครชอบโดเรม่อนไปตำได้ที่ยูนิโคล่เลยค้าบบบ ได้สนับสนุนแคมเปญด้วยน้า” Link

  1. ผู้บริโภคสนใจเรื่องการลด Carbon / Carbon Footprint เพิ่มขึ้น มีการพูดคุยในประเด็นเรื่องนี้ใน Social Media สูงขึ้น 74% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 

Carbon footprint คือ ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emissions and removals) ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการตลอดวัฏจักรชีวิต ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังจากการใช้งาน หรือจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร วัดรวมอยู่ในรูปของตัน (กิโลกรัม) ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (อ้างอิงข้อมูลจาก BSI) ซึ่งเรื่องนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบเกือบทุกอุตสาหกรรมเลยก็ว่าได้ รวมไปถึงวงการ Bitcoin / NFT ด้วยนะ ซึ่งสำหรับประเด็นนี้แบรนด์ทำแคมเปญอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ แต่ควรมีปรับปรุงพัฒนาทุกกระบวนการของสินค้าตั้งแต่ผลิตไปจนถึงการกำจัดให้ลดการปล่อย Carbon / Carbon Footprint ให้น้อยที่สุด

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อการลด Carbon Footprint

แบรนด์ Greenery Water ออกแบบน้ำดื่มกระป๋องอลูมิเนียมที่รีไซเคิลได้ 100% และการรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมช่วยลดการเกิด Carbon Footprint รวมถึงช่วยประหยัดพลังงานในการผลิตใหม่ได้ถึง 95% อีกด้วย

รูปจาก : greenery water
  1. ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับแนวคิดบริโภคอย่างพอดีและยั่งยืน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมาคือ วงการอาหาร และวงการแฟชั่น  โดยเราลองสำรวจจาก keyword ดังต่อไปนี้ #wearวนไป, fast fashion, food waste, over consumption ได้รับการกล่าวถึงรวม 130,000 Mention ซึ่งแม้ว่าจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา แต่สังเกตได้ว่าหากมีการพูดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประเด็นนี้ก็อาจจะกลับมาได้อีกครั้ง

ซึ่งประเด็นดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 มุมมองคือ ต่อแบรนด์และต่อตัวผู้บริโภคเอง 


ในส่วนของตัวแบรนด์ ผู้บริโภคอยากให้แบรนด์ต่าง ๆ ผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงความยั่งยืน และลดปริมาณที่มากเกินความจำเป็น เพราะการผลิตที่มากไปส่งผลต่อทั้งการก่อให้เกิดมลพิษทั้งในขั้นตอนการผลิตและการทำลาย 

โดยเฉพาะวงการแฟชั่น ที่เห็นได้ชัดก็คือ กระแสการต่อต้านธุรกิจที่มีแนวคิด Fast Fashion ที่ผลิตสินค้าแฟชั่นตามกระแส เพราะ Fast Fashion ถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยมลพิษอันดับต้น ๆ ของโลกเลยทีเดียว ตั้งแต่กระบวนการผลิต วัสดุที่นำมาใช้ ไปจนถึงกระบวนการกำจัดเองยังก่อให้เกิดขยะมากมาย อีกด้วย เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอาหารเอง ผู้ผลิตควรใส่ใจในการวางแผนการผลิต ไม่ผลิตมากเกินความจำเป็น รวมถึงหานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดมลพิษและขยะในทุกกระบวนการนั่นเอง

ส่วนมุมมองผู้บริโภคเอง พวกเขาก็รู้สึกว่าควรใช้งานสินค้านั้นให้คุ้มค่าตามอายุการใช้งาน ไม่ใช้แล้วทิ้งเลยทั้งที่ของนั้นยังใช้งานได้อยู่ เช่นการใส่เสื้อผ้าซ้ำ ไม่ใส่ครั้งเดียวแล้วทิ้งตามกระแส หรือการที่การบริโภคอาหารแต่พอดี  ไม่กินทิ้งกินขว้าง เป็นต้น 

นอกจากนี้ ถ้าเป็นในแง่เสื้อผ้าหรือสิ่งของ สิ่งที่พวกเขามองหาคือของที่ใช้ซ้ำ ๆ ได้เรื่อย ทนทาน ไม่เก่าง่าย และแม้ถึงเวลาที่ต้องทิ้ง ของเหล่านั้นก็ต้องเป็นของที่ย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ หรือนำไปรีไซเคิลได้โดยใช้พลังงานน้อยที่สุดนั่นเอง 

ตัวอย่าง Feedback ผู้บริโภคในประเด็นดังกล่าว

ตัวอย่างแบรนด์ที่ปรับตัวเพื่อสอดรับกับเทรนด์นี้

H&M หนึ่งในธุรกิจ Fast Fashion พยามปรับตัวเป็น Sustainable Fashion หันมาใช้วัสดุออร์แกนิคและรีไซเคิลมากขึ้น โดยมีเป้าหมายว่าจะใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 100% ในปี 2573 นอกจากนี้ยังออกแคมเปญเพื่อสนับสนุนการลดการใช้ Fast Fashion อีกด้วย เช่น แคมเปญ Loop ที่ให้ลูกค้านำเสื้อที่ไม่ต้องการใส่แล้วมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่นใหม่ เป็นต้น

4. ผู้บริโภคคาดหวังว่าการสื่อสารการตลาดเองก็ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม ในวันนี้ ไม่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ แต่ผู้บริโภคมองลึกไปถึงการสื่อสารทางการตลาด ในวันที่ใคร ๆ ก็ใช้โซเชียลมีเดีย ในการสร้างคอนเทนต์ เพื่อเรียกกระแส จึงต้องหาทางสร้างวิธีดึงดูดให้ผู้บริโภค หันมาซื้อสินค้าใหม่ ๆ เพื่อทำคอนเทนต์ลงโซเชียล ที่อาจก่อให้เกิดขยะและมลพิษมากมาย รวมถึงเกิดเสียงเชิงลบตามมา ดังนั้นในการออกแบบหรือการสื่อสารก็ควรต้องมีความระมัดระวังในเรื่องนี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารบางร้านออกไอเดีย ออกแบบอาหารสำหรับทำเอง ทำเป็นกระแสใน Tiktok แต่ต่อมากระแสเปลี่ยนเป็นเชิงลบ เพราะมีบรรจุภัณฑ์มากมายที่อาจก่อให้เกิดขยะได้มหาศาลเมื่อเทียบกับวิธีการผลิตเดิม  หรือ การจัดอีเวนต์ตามเทศกาลที่ก่อให้เกิดขยะตามมาจำนวนมาก  และกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจเรื่องนี้ พวกเขาอาจจะติดตามว่าคุณได้ทำตามสิ่งที่คุณสื่อสารได้จริงหรือไม่ด้วย ดังนั้นในการคิดไอเดียแต่ละครั้งควรให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวให้รอบด้านนั่นเอง 

“ทำเหมือนมันเป็นแคมเปญมาๆไปๆเลยเนอะ pride month ไม่ใช่อะไรที่เอามาทำเป็น aesthetic ไว้ถ่ายรูปประดับแบรนด์ ประดับไอจีนะ แล้วก่อนหน้านี้โว้คเรื่องโลกรวน แต่ดูของตกแต่งนะ กลวงเว่อ” Link 

“ขอพูดในส่วนของคนทำงานในด้านสิ่งแวดล้อมหน่อยนะคะ ตอนนี้คือเลื่อนไปทางไหนก็เจอแต่การใช้เม็ดโฟมเพื่อทำการตักสุ่ม แต่อยากให้รู้กันซักหน่อย ว่าหากกระแสเหล่านี้หมดไปแล้ว เม็ดโฟมที่แต่ละคนนำมาใช้นั้นทิ้งไปที่ถังขยะแล้วมันก็ไม่สามารถย่อยสลายได้เลย ยิ่งกว่านั้นคือมันติดไฟได้ค่ะ” Link 

แบรนด์ควรรับมืออย่างไร

บทสรุป จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าเทรนด์ผู้บริโภคมีการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น  และทุกประเด็นจะเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวเนื่องกัน และมีผลต่อเกือบทุกอุตสาหกรรม เพราะเรื่องโลกรวน ไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่เราต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย  

ดังนั้นแบรนด์จึงควรเริ่มตระหนักในปัญหาดังกล่าว และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สอดคล้องแนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อม ลดการสร้างมลพิษต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบให้เกิดโลกรวนนั่นเอง ทั้งนี้ก่อนที่จะปรับปรุงใดๆ ควรมีการออกแบบและสื่อสารควรดำเนินการอย่างรัดกุมและคิดให้รอบด้านก่อน เพราะอาจจะเกิดกระแสเชิงลบได้เช่นกัน โดยหนึ่งในตัวช่วยที่สามารถทำได้ อาจใช้วิธีศึกษาจากแคมเปญอื่น ๆ ด้วย Social Listening เพื่อหา Insight ผู้บริโภคจากแคมเปญ หรือแบรนด์อื่น ๆ นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาก่อน เป็นต้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับแบรนด์ในการนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองได้ไม่มากก็น้อยนะคะ คราวหน้า Real Smart มีอะไรดี ๆ มาฝากรอติดตามกันได้เลยนะคะ