Skip links

ดัชนีเศรษฐกิจชาวบ้าน ราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสะท้อนอะไรให้เราเห็น?

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารคู่ปากท้องคนไทยมากว่า 3 ทศวรรษ คุ้นเคยกับรสชาติและราคา แต่เมื่อผู้ผลิตเจอภาวะขาดทุน ขึ้นราคาอีก 1 บาทต่อซอง มาดูกันว่าชาวโซเชียลโอดโอยประเด็นนี้อย่างไร Real Smart ได้รวบรวมมาให้อ่านกัน

จากข้อมูลที่ Real Smart รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นสะท้อนให้เห็นมุมมองที่หลากหลายจากคนไทยในโลกออนไลน์ 

ประชาชนมองว่าสินค้าทุกอย่างปรับตัวสูงขึ้นไม่ใช่เพียงแค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเห็นด้วยกับการขึ้นราคาเพราะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูง การทำธุรกิจต้องมีกำไร แต่ยิ่งในยุคที่เศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้คนส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น หลายคนหันไปซื้อยี่ห้ออื่นที่ราคาถูกกว่ามาทานแทน 

ประชาชนอีกกลุ่มบอกว่ารัฐบาลควรเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้กับประชาชนเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาราคาข้าวของแพง รวมถึงอยากให้มีการจัดตั้งบริษัทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแห่งชาติขายราคาแค่ 5 บาทให้กับคนไทย 

หลายคนมองว่าบางพื้นที่ราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปควรตั้งราคา 7 บาทมาตั้งนานแล้ว

เจาะลึกในประเด็นที่ถูกพูดถึงและให้ความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์

จากข้อมูลที่ Real Smart รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบประเด็นเกี่ยวกับการขึ้นราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในครั้งนี้ ทำให้ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์อยู่ 2 ประเด็น คือ พาณิชย์อนุมัติ มาม่า ไวไว ยำยำ ขึ้นราคาขายปลีก  และ วันแรกยุคมาม่าราคา 7 บาท  ที่นี่เรามาเจาะลึกไปทีละประเด็นกัน

“พาณิชย์อนุมัติ มาม่า ไวไว ยำยำ ขึ้นราคาขายปลีก ” 

พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 3% ประชาชนบางกลุ่มเข้าถึงการขึ้นราคาเนื่องจากราคาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 59% หลายคนมองว่าราคามาม่าบางพื้นที่ควรขึ้นราคามานานแล้ว และจากการที่ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้หลายคนหันไปเลือกซื้อยี่ห้ออื่นที่ถูกกว่าแทน  ประชาชนบางส่วนอยากให้รัฐบาลให้การช่วยเหลือประชาชนเรื่องข้าวของแพงมากขึ้น

สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 38% หลายคนออกมาตำหนิเรื่องราคาข้าวของที่แพงขึ้น แต่ราคาค่าแรงต่ำไม่พอใช้จ่ายรัฐบาลปล่อยให้ประชาชนอดอยากมากขึ้นไม่คิดจะออกมาช่วยเหลือเลย และบางกลุ่มมองว่ารัฐบาลให้การช่วยเหลือกลุ่มนายทุนทำให้ราคาแพงขึ้น แต่สินค้าเกษตรกรยังคงเท่าเดิม

“วันแรกยุคมาม่าราคา 7 บาท” 

ไม่พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 11%  หลายคนมองว่าราคาสินค้าขยับตัวขึ้นตามเศรษฐกิจโลกไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น

สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 89% ประชาชนส่วนใหญ่ต่างออกมาตำหนิ รมว. กระทรวงพาณิชย์ที่ไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าที่แพงขึ้นได้ และมองว่าขนาดมาม่ายังขึ้นราคา แต่ค่าแรงของประชาชนยังไม่พอใช้จ่ายเลย ต่อไปประชาชนคงอดตาย

ในส่วนของ Top Engagement Post เกี่ยวกับการปรับตัวของราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพบว่าช่องทาง YouTube และ Facebook ได้รับ engagement ที่สูง ซึ่งโพสต์ส่วนใหญ่ที่ได้รับความสนใจนั้นเป็นคนที่มีชื่อเสียง และมีคนติดตามเป็นจำนวนมากทำให้ได้รับ engagement ที่สูง ประกอบกับช่องทาง YouTube และ Facebook ยังคงเป็นช่องทางที่คนไทยใช้ติดตามข่าวสารและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ

ไว้ครั้งหน้า Real Smart จะนำเอา Data มาวิเคราะห์แล้วนำมาเล่าให้ฟังอีก  หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสามารถคลิกอ่าน Real Trend Blog และก็อย่าลืมกดติดตาม Real Smart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น