Skip links

ความปลอดภัยบนถนนเส้นพระราม 2 ในมุมมองของคนไทยผ่าน Social Listening

ถนนพระราม2 Social Listening

ช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา มีข่าวอุบัติเหตุสะพานกลับรถตกลงมาที่ถนนพระราม 2 ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ครั้งนี้มิใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุขวัญผวา ระหว่างขับรถบนถนนสายนี้ ลองมาดูกันว่าโลกออนไลน์ให้ความสนใจกับประเด็นนี้กันอย่างไร จากการรวบรวมข้อมูลของ RealSmart

ถนนพระราม 2

จากข้อมูลที่ Real Smart ได้รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบความคิดเห็นส่วนใหญ่ของคนไทยในโลกออนไลน์ไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด 

ประชาชนส่วนใหญ่ตกใจกับข่าวที่เกิดขึ้น กังวลเรื่องความปลอดภัยในการใช้ถนน และออกมาแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้

หลายคนออกมาตำหนิกรมทางหลวงที่สร้างสะพานไม่ได้มาตรฐานควรรื้อถอนตั้งแต่แรก ไม่มีการปิดถนนก่อสร้างทำให้ประชาชนถึงแก่ความตาย บางคนมองว่าวิศวกรน่าจะรู้สาเหตุแต่ไม่ยอมบอก เพราะกลัวผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ส่วนผู้รับเหมา และเจ้าหน้าที่รัฐวิศวกรต้องรับผิดชอบ ประชาชนเตรียมฟ้องร้องผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 

เจาะลึกในประเด็นที่ถูกพูดถึงและให้ความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์

จากข้อมูลที่ RealSmart รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบประเด็นเกี่ยวกับความปลอดภัยบนถนนเส้นพระราม 2 หลังจากเกิดอุบัติเหตุขึ้นทำให้ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์อยู่ 2 ประเด็น คือ ตรวจสอบสภาพความปลอดภัย  และกรมทางหลวงรื้อคานสะพานกลับรถ ที่นี่เรามาเจาะลึกไปทีละประเด็นกัน

ความปลอดภัย

“ตรวจสอบสภาพความปลอดภัย ” 

ไม่พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment)

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 40% หลายคนอยากให้กรมทางหลวงตรวจสอบความแข็งแรงของสะพานในทุกพื้นที่ที่กำลังก่อสร้างอยู่ให้ได้มาตรฐาน และระหว่างก่อสร้างควรมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ควบคุมอยู่เสมอเพื่อป้องกันปัญหา และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 60% หลายคนออกมาตำหนิกรมทางหลวง และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลควบคุมงานก่อสร้างไม่มีมีความรู้ความสามารถ ไม่ดูงานให้รอบคอบสร้างสะพานไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปิดถนนก่อสร้างทำให้ประชาชนถึงแก่ความตาย

รื้อสะพาน

“กรมทางหลวงรื้อคานสะพานกลับรถ” 

ไม่พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 47% ประชาชนอยากให้รื้อถนนสะพาน และสร้างใหม่ให้ได้มาตรฐาน บางคนรู้สึกังวลเวลาที่ต้องใช้ถนนเส้นนี้ในการเดินทางเพราะกลัวสะพานจะถล่มลงมาอีก และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายคนมองว่ากรมทางหลวงควรออกมารับผิดชอบทั้งหมด

สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 53% หลายคนออกมาตำหนิกรมทางหลวงว่าควรสร้างสะพานใหม่ทั้งหมด ไม่ใช้ห่วงแต่งบประมาณจะหมด และตำหนิการทำงานที่มักง่ายไม่ปิดถนน ใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน

ในส่วนของ Top Engagement Post พบว่าช่องทาง YouTube ได้รับ engagement สูงสุดเนื่องจากเป็นนักข่าวชื่อดังระดับประเทศได้ออกมารายงานข่าว ซึ่งมีผู้ติดตามช่องทางออนไลน์นักข่าวท่านนี้อยู่เป็นจำนวนมาก  ตามมาด้วย Twitter และ Facebook ที่ยังคงเป็นช่องทางที่คนนิยมติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

ไว้ครั้งหน้า RealSmart จะนำเอา Data มาวิเคราะห์แล้วนำมาเล่าให้ฟังอีก  หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสามารถคลิกอ่าน RealTrend Blog และก็อย่าลืมกดติดตาม RealSmart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น