Skip links

ประเทศไทยใกล้ถึงจุดเปลี่ยน จับตามองกระแสการเลือกตั้งใหม่ในปี 2566

เลือกตั้ง 2566

หากเรามานับวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะครบวาระ 4 ปีในช่วงเดือนมีนาคม 2566 ทำให้กระแสการเลือกตั้งใหม่ในปี 2566 เริ่มเป็นที่พูดถึงกันในโลกออนไลน์มากขึ้น และต่างจับตามองสถานการณ์การเลือกตั้งครั้งต่อกันอย่างต่อเนื่อง RealSmart จึงได้รวบรวมข้อมูลในโลกออนไลน์ มาดูกันว่าคนไทยคิดเห็นอย่างไร ?

เลือกตั้ง 66 Social Listening

จากข้อมูลที่ Real Smart ได้รวบรวมผ่าน Social Listening เกี่ยวกับกระแสการเลือกตั้งใหม่ 2566 พบความคิดเห็นส่วนใหญ่ของคนไทยไปในทิศทางเดียวกัน วิเคราะห์จากข้อมูลจะพบว่ามีหลายประเด็นที่อาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงจุดเปลี่ยนประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ประเด็นแรก

จากข้อความบทสนทนาที่เกิดขึ้นในสื่อเชียลแสดงถึงความกระตือรือร้นและรอคอยการเลือกตั้งใหญ่ แสดงถึงการมีความหวังและเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ต้องการใช้สิทธิเลือกผู้นำประเทศ จึงเป็นไปได้ว่าหากต้องการความเปลี่ยนแปลง ประชาชนที่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งจะออกมาใช้สิทธิมากกว่าการเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมา   

ประเด็นที่สอง

คนไทยต้องการผู้นำประเทศที่ฉลาด ฉับไว แก้ปัญหาเก่ง โปร่งใส ไม่ทุจริต ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หลายคนมองไม่เห็นในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ชี้ชัดว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่เปิดโอกาสให้นักการเมือง (ไม่ว่าจะเป็นคนในเจเนอเรชันใด) ที่มีหัวคิดก้าวหน้า มีมุมมองอนาคตในมิติใหม่ที่ต่างไปจากที่เป็นอยู่ได้มีที่นั่งในสภา ฯ    

สาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยใกล้ถึงจุดเปลี่ยนในการเลือกตั้งใหญ่เดือนพฤษภาคมปีหน้ามาจากการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยของผู้คนในแต่ละเจเนอเรชัน ขอยกสถิติประชากรจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในรายงานภาวะสังคมเมื่อปี 2560 จำแนกสัดส่วนโครงสร้างประชากรมีกลุ่ม Silent gen  (72-92 ปี) ประมาณ  5 ล้านคน กลุ่ม baby boomer (53-71) ประมาณ 15 ล้านคน กลุ่มเจน X (38-52) ประมาณ 16 ล้านคน เจน Y (20-37) ประมาณ 19 ล้านคนและเจน Z น้อยกว่า 20 ปีประมาณ10 ล้านคน

หากอ้างอิงตัวเลขนี้จะพบว่าประชากรกลุ่มเบบี้บูมเมอร์เป็นกลุ่มคนในระดับผู้นำกุมบังเหียนทิศทางองค์กร การเมืองและการปกครอง ในขณะที่เจน X และเจน Y เป็นกลุ่มที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเมืองในระดับผู้นำองค์กรในยุคต่อไป อาจถือเป็นสองกลุ่มที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ชัดเจนมากกว่าประชากรกลุ่มอื่น การเลือกตั้งครั้งหน้า เราอาจจะได้เห็นยุทธวิธีใหม่ ๆ ของพรรคการเมืองเมื่อต้องเข้าไปแข่งขันแย่งคะแนนเสียงหลักในประชากรสองกลุ่มนี้  

ประเด็นที่สาม

จากเสียงสะท้อน Social Listening ประชาชนไม่ต้องการการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยการทุจริต ดังนั้น กกต.จะถูกจับตามองการทำงานอย่างเข้มงวดเพราะคนต้องการเห็นความโปร่งใสในกระบวนการเลือกตั้งทุกขั้นตอน 

ประเด็นที่สี่

ความกระตือรือร้นของประชาชนจะทำให้เกิดเครือข่ายมากมายหลายกลุ่มคอยจับตาการทุจริตเลือกตั้ง นักการเมืองที่มุ่งหวังการซื้อเสียงไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใดจะทำได้ยากขึ้น

เจาะลึกในประเด็นที่ถูกพูดถึงและให้ความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์

จากข้อมูลที่ Real Smart รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบประเด็นเกี่ยวกับ การเลือกตั้งปี 2566 ที่ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์อยู่ 2 ประเด็น คือ การเลือกตั้งครั้งใหม่ และ การไม่ทุจริตในการเลือกตั้ง  ที่นี่เรามาเจาะลึกไปทีละประเด็นกัน

เลือกตั้งครั้งใหม่ปี 2566 Social Listening

“การเลือกตั้งครั้งใหม่”

พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 49% ประชาชนเห็นด้วยกับการเลือกตั้งครั้งใหม่ และอยากให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุด

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 31% บอกว่าประชาชนต้องเป็นคนเลือกผู้นำประเทศเท่านั้น ผู้นำประเทศต้องเก่ง ขยัน และฉลาดรอบด้าน ซึ่งหากได้ผู้นำคนใหม่ประเทศไทยอาจจะพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น

สุดท้ายพบความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 20% มองว่ามีนักการเมืองบางกลุ่มที่ขัดขวางการเลือกตั้งเพราะอยากให้พรรคพวกตัวเองเป็นใหญ่ และถ้าบริหารประเทศไม่ดีก็ควรให้คนใหม่ที่มีความสามารถขึ้นมาบริหารประเทศแทน

ทุจริตเลือกตั้ง

“การไม่ทุจริตในการเลือกตั้ง”

พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 8% มองว่าถ้าประเทศไทยไม่มีการทุจริตจะอยู่มากยิ่งขึ้น

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 28% หลายคนบอกว่าทุกฝ่ายต้องยอมรับผลคะแนนของประชาชน และคะแนนต้องโปร่งใส ได้มาอย่างถูกต้อง

สุดท้ายพบความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 64% คิดว่านักการเมืองแย่งชิงอำนาจกันจนทำให้ประเทศย่ำแย่ ไร้การพัฒนาไม่เคยเห็นหัวประชาชน มีการทุจริตการเลือกตั้งจนเคยชิน ไม่มองว่าประชาชนลำบากแค่ไหน มัวแต่โกงการเลือกตั้งหวังเพื่อกินงบประมาณของแผ่นดิน

Top post เลือกตั้ง 2566

ในส่วนของ Top Engagement Post นั้นพบว่าช่องทาง YouTube ได้รับความสนใจจากผู้คนมากที่สุด เนื่องจากคนไทยหันมาดูข่าว และติดตามสถานการณ์ประเด็นนี้ผ่านช่องทางนี้ โดยเฉพาะช่องของสำนักข่าว และช่องที่มีชื่อเสียงในด้านการเมือง ต่อมาช่องทาง Facebook  ยังคงเป็นช่องทางที่คนไทยไว้ติดตามข่าวเช่นกัน

ไว้ครั้งหน้า RealSmart จะนำเอา Data มาวิเคราะห์แล้วนำมาเล่าให้ฟังอีก  หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสามารถคลิกอ่าน Real Trend Blog และก็อย่าลืมกดติดตาม RealSmart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น