Skip links

แพงเกินไปไหม ปัญหาเงินเฟ้อ กับมุมมองของคนไทยผ่าน Social Listening

ปัญหาเงินเฟ้อ

ปัจจุบันหลายคนคงเห็นราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้รายจ่ายของทุกคนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุมาจากปัญหาเงินเฟ้อที่ทั่วโลกเผชิญอยู่ในตอนนี้ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ราคาพลังงานที่สูงขึ้น และอื่น ๆ ส่งผลต่อทุกภาคส่วน รวมถึงประชาชนที่รู้สึกได้เลยว่าค่าครองชีพสูงขึ้นจะหยิบจะจับอะไรก็แพงไปหมด และรายได้ยังไม่ต่างจากเดิม ทำให้เราไม่กล้าจะซื้ออะไรง่าย ๆ เหมือนเดิมอีก สร้างความกังวลให้คนไทยไม่น้อยเลยทีเดียว 

RealSmart ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อที่คนไทยในโลกออนไลน์ให้ความสนใจผ่าน Social Listening ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็น มุมมอง ความรู้สึก และประเด็นที่ได้ความสนใจจากคนไทยมาวิเคราะห์และเล่าให้ทุกคนได้เข้าใจกัน มาเริ่มกันเลย

ความคิดเห็นเรื่องเงินเฟ้อ

จากข้อมูลที่  RealSmart ได้รวบรวมผ่าน Social Listening พบว่าคนไทยในโลกออนไลน์มีความกังวลถึงปัญหาเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบให้สินค้า และบริการมีราคาสูงขึ้น ทั้งที่รายได้ของพวกเขาเท่าเดิมทำให้รายจ่ายภายในบ้านสูงขึ้น อีกทั้งค่าแรงขั้นต่ำนั้นถูกเกินไป อยากให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้นตามปัญหาเงินเฟ้อ บางส่วนมองว่ารัฐบาลไม่มีความสามารถในการแก้ปัญหา ปล่อยให้ประชาชนลำบาก ไม่สนใจปากท้องของพวกเขา

เจาะลึกในประเด็นที่ถูกพูดถึงและให้ความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์

จากข้อมูลที่ RealSmart รวบรวมผ่าน Social Listening มานั้นพบประเด็นเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อที่ได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์อยู่ 2 ประเด็น คือ เงินเฟ้อในประเทศไทย และผลกระทบจากเงินเฟ้อ ที่นี่เรามาเจาะลึกไปทีละประเด็นกัน

เงินเฟ้อประเทศไทย

“เงินเฟ้อในประเทศไทย” 

พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 3% มองว่าทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 39% ประชาชนกังวลเรื่องราคาข้าวของแพงขึ้นอาจทำให้เกิดปัญหาในภายหลังหากไม่แก้ไข รวมถึงค่าแรงขั้นต่ำไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย

สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 58% มองว่ารัฐบาลไม่ความสามารถในการแก้ไขปัญหาเองได้ ปล่อยให้คนไทยลำบากหาทางแก้ไขกันเอง

ผลกระทบจากเงินเฟ้อ

“ผลกระทบจากเงินเฟ้อ” 

พบความคิดเห็นเชิงบวก (Positive Sentiment) 7% มองว่าหลายประเทศโดนผลกระทบปัญหาเงินเฟ้อแบบไทย หรืออาจแย่กว่าประเทศไทยก็มี 

ในส่วนของความคิดเห็นทั่วไป (Neutral Sentiment) 61% บอกว่ารัฐบาลควรปรับค่าแรงขั้นต่ำให้คนไทยใหม่จากวันละ 300 บาทเป็น 500 บาท เพราะคนไทยซื้อของแพงขึ้น น้ำมันก็แพงขึ้นทำให้รายจ่ายมากกว่ารายรับ  และสินค้าบางประเภทขายไม่ออก เพราะคนใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น

สุดท้ายในส่วนความคิดเห็นเชิงลบ (Negative Sentiment) 32% บอกว่าประชาชนไม่มีสิทธิออกเสียง หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ปัญหาเลยไม่เคยได้แก้ไขอย่างถูกต้อง ต่อให้ประชาชนลำบากแค่ไหนรัฐบาลก็ไม่เคยสนใจ

ในส่วนของ Top Engagement post พบว่า Facebook และ Twitter เป็นช่องทางที่คนไทยติดตามปัญหาเงินเฟ้อ โดยเฉพาะเพจลงทุนแมนที่ได้อธิบายถึงปัญหาเงินเฟ้อทำให้รับความสนใจจากคนไทยสูง ส่วน Twitter ที่ได้รับความสนใจสูงจากการ Tweet เรื่องค่าน้ำมันแพงไปในทางตลกขำขัน

Top #Hashtag ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อที่คนไทยกังวลนั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนที่เป็นภาษาไทย  #เงินเฟ้อไทย  #เศรษฐกิจถดถอย #ตัวเลขเงินเฟ้อ #ค่าครองชีพ  และอื่น ๆ หากใครสนใจสามารถไปตามดูใน Hashtag เกิดขึ้นได้เช่นกัน  

ไว้ครั้งหน้า RealSmart จะนำเอา Data มาวิเคราะห์แล้วนำมาเล่าให้ฟังอีก  หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสามารถคลิกอ่าน RealTrend Blog และก็อย่าลืมกดติดตาม RealSmart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น