Skip links

ขาดทุนไม่นับ กำไรปั๊ป หัก 15% ย้อนดูกระแสชาวเหรียญพร้อมใจสวนกลับภาษีคริปโต

ต้องยอมรับกันเลยว่าการลงทุนในรูปสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แน่นอนไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะโตขึ้นมาเองได้ มันมีหลายปัจจัยที่ส่งผลในเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็น ราคาและผลตอบแทนที่ดึงดูดสุด ๆ อีกทั้งมีความเชื่อว่า ‘คริปโตฯ’ จะเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญในอนาคต รวมถึงสามารถเริ่มต้นลงทุนในจำนวนเงินน้อยได้

จึงนำมาสู่ประเด็นที่ทำให้เหล่านักเทรดคริปโตปวดหัวกันเลย จากการที่ ‘กรมสรรพากร’จะมีการเรียกเก็บภาษีจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต รวมถึง NFT และอื่น ๆ จากการขายแล้วได้กำไรในอัตรา 15% รายธุรกรรม แน่นอนปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าจ่ายไม่จ่ายภาษี แต่ปัญหาคือ คิดแต่กำไรอย่างเดียวส่วนที่ขาดทุนไม่สามารถนำมาหักลบกลบได้เพื่อลดในส่วนที่ต้องจ่ายภาษีคริปโตได้ ทำให้วัยรุ่นคริปโตปวดหัวกันหนักกับเรื่องนี้และออกมาพูดถึงกันในโลกออนไลน์

จากกระแสที่เกิดขึ้น Real Smart ได้ใช้ Social Listening Tools เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในเรื่องของมุมมองและความคิดเห็น รวมถึงความรู้สึกของคนไทยในโลกออนไลน์ที่มีต่อเรื่องการเก็บภาษีคริปโตอย่างไรกันบ้าง มาเริ่มกันเลย..

เริ่มจาก Timeline ตั้งแต่เริ่มมีเริ่มเกิดประเด็นการเรียกเก็บภาษีคริปโตนี้ขึ้นมา

Social Listening

เราจะได้เห็นได้ว่ากราฟค่อย ๆ พุ่งขึ้นและดีดตัวขึ้นไปสูงจากกระแสที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งก่อน Timeline นั้นกรมสรรพากรได้ประกาศเรื่องการจัดเก็บภาษีออกมาทำให้เริ่มเป็นที่พูดถึงในกลุ่มคนที่เทรดคริปโตบางส่วนและเริ่มกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 2 มกราคม 2565 หลังจากที่ Facebook page : Dr. Pete Peerapat ออกมาโพสต์ถึงการเรียกเก็บภาษี การเพิ่มประเภทรายได้จากการลงทุนใน Cryptocurrency และอัตราการเสียภาษีต่าง ๆ ออกมาอย่างละเอียดยิบทำให้ได้กราฟเริ่มขยับตัว 

ต่อมาวันที่ 4 มกราคม 2565 กราฟเพิ่มสูงขึ้นและได้มี Facebook page : อภินิหารเงินออม ได้โพสต์วิธีการยื่นเสียภาษีคริปโตที่ยากจะเข้าใจได้ 

และในวันที่ 6 มกราคม 2565 กราฟดีดตัวพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งในวันนั้นมี Facebook ส่วนตัวออกมาโพสต์ถึงการคำนวณอัตราการเสียภาษีที่คิดแต่กำไรอย่างเดียว ไม่มีการหักลบจากการขาดทุน อีกทั้ง Facebook page : TaxBugnoms ได้ออกมาสรุปภาษีคริปโตเสียยังไง เสียแบบไหน และชวนคิดวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งทั้ง 2 โพสต์นั้นได้รับ engagement มากเพราะได้รับความสนใจจากคนไทยในโลกออนไลน์

กราฟดีดตัวพุ่งสูงสุดในวันที่ 7 มกราคม 2565 ได้มี Facebook ส่วนตัวออกมาโพสต์เหน็บแนมถึงการเรียกเก็บภาษี วิธีการคำนวณที่แปลก ๆ เหมือนเป็นการขัดขวางการเติบโตและการเกิดใหม่ของธุรกิจ และคนบางกลุ่ม ซึ่งได้รับความสนใจ 

วันที่ 8 มกราคม 2565 กราฟเริ่มลดลง และได้มี Facebook page : ลงทุนงู ๆ ปลา ๆ – Ez Invest โพสต์ถึงปริมาณการซื้อขายใน Exchange ไทยลดลงอย่างมากในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาจากการกำหนดการเก็บภาษีจากกำไรทุก transaction  และกราฟยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในวันที่ 9 มกราคม 2565 Facebook page : TaxBugnoms โพสต์อธิบายถึงการเก็บภาษีคริปโตจากกำไรพร้อมรูปภาพประกอบอย่างละเอียด

วันที่ 10 มกราคม 2565 Facebook page : Tanawat Wongchai โพสต์เกี่ยวกับที่พรรคไทยสร้างไทยนำโดยหัวหน้าพรรค คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคได้ออกมาค้านเรื่องการเก็บภาษีคริปโตไม่เป็นธรรม และในวันที่ 11 มกราคม 2565 Facebook page : ลองลงทุน  โพสต์ถึงประเด็นที่ คุณหญิงสุดารัตน์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ค้านเรื่องการเก็บภาษีและพร้อมหนุนไทยเป็นศูนย์กลางลงทุน Crpyto ของโลก

ต่อมาเรามาดูความรู้สึก (Sentiment) โดยรวมของคนไทยในโลกออนไลน์เกี่ยวกับกระแสการเก็บภาษีคริปโต

Sentiment Analysis

Positive sentiment (ความเห็นเชิงบวก) 8% มีคนที่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีคริปโต ไม่อย่างนั้นช่องทางนี้จะกลายเป็นช่องทางการฟอกเงินได้ง่าย อีกทั้งคริปโตมีเงินหมุนเวียนจำนวนมากสมควรที่จะต้องเก็บภาษี

Social Listening tools

Neutral Sentiment (ความเห็นเชิงทั่วไป) 37% มองว่ายังไม่ควรเก็บ เพราะถ้าเริ่มเก็บเลยสิ่งที่น่ากลัวจะเริ่มต้นขึ้นคือคนนำเงินไปลงทุนที่ต่างประเทศ อีกทั้งกฎหมายพึ่งออกมาและยังไม่มีความชัดเจน

  • Negative Sentiment (ความเห็นเชิงลบ) 55% ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ออกกฎหมายการเก็บภาษีคริปโตนั้นเอาเปรียบประชาชน แทนที่จะมาเก็บภาษีอยากให้รัฐบาลสนับสนุนสตาร์ทอัพ กับ SMEs มากกว่า 

จากภาพรวมความรู้สึกของคนไทยนั้นไปในทาง Negative Sentiment เป็นส่วนใหญ่ที่มองว่าไม่ควรเก็บภาษีควรไปสนับสนุนด้านอื่น ๆ ส่วน Neutral Sentiment ทิศทางส่วนใหญ่ก็ไปทิศทางไม่สนับสนุนเรื่องนี้ เพราะกลัวคนไทยจะไปลงทุนต่างประเทศหมด และมีเพียงส่วนน้อยที่เป็น Positive Sentiment ที่อยากให้เก็บภาษีคริปโตเพราะกลัวเป็นช่องทางการฟอกเงินจำนวนมาก

ต่อมาเราจะมาเจาะลึกประเด็นที่คนไทยให้ความสนใจกันเยอะเกี่ยวกับกระแสการเก็บภาษีคริปโต

ความคิดเห็นจากนักลงทุนเรื่องภาษีคริปโตฯ

มีเพียงแค่ 10% ที่สนับสนุนให้เก็บภาษี เพราะมีเงินหมุนเวียนจำนวนมาก อีก 35% บอกว่าควรเอาเงินที่เป็นกำไรและเงินที่ขาดทุนมาหักลบกัน ได้เท่าไหร่ค่อยมาเก็บภาษีดีกว่า แต่คนส่วนใหญ่ที่มีถึง 56% ที่มองว่าเป็นกฎหมายที่เอาเปรียบประชาชน ทำให้นักลงทุนต้องขาดทุน และคนเล่นคริปโตในประเทศลดลง

เกณฑ์การเก็บภาษี Crypto

มีเพียง 10% ที่มองว่าควรเรียกเก็บภาษีจากนักลงทุน อีก 33% ที่มาสอบถามเรื่องการโอนเงินสกุลดิจิทัลเปลี่ยนเป็นเงินไทยจะเสียภาษีไหม ส่วนอีก 57% ไม่เห็นด้วยกับการเรียกเก็บภาษีจากนักลงทุน การเก็บถึง 15% นั้นเอาเปรียบมากเกินไป ทำให้ไม่มีใครอยากลงทุนอีก

Top 3 on Facebook Engagement

อันดับที่ 1 อย่างเพจ “คาราโอเกะชั้นใต้ดิน” สายแซวเรื่องต่าง ๆ ด้วยเนื้อเพลงเรียกเสียงขำได้สูงกว่าอีก 2 อันดับอย่างเพจ “เรื่องเล่าเช้านี้” ที่ได้รับความสนใจอยู่พอสมควรจากที่เป็นช่องทางเสพข่าว และ Facebook ส่วนตัวของ “ธนวัฒน์ วงค์ไชย” สายการเมืองที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านจึงได้รับความสนใจอยู่พอสมควร

Top 3 on YouTube Engagement

ไม่แปลกใจเลยสำหรับอันดับที่ 1 และ 2 ที่ได้รับความสนใจจากผู้คนเยอะ เนื่องจากทั้ง 2 เพจนี้อยู่ในวงการการลงทุนคริปโตอยู่แล้วนั้นเอง ส่วนอันดับที่ 3 YouTube สายไอที วงการเทคโนโลยี มีผู้ติดตามจำนวนมากจึงทำให้ได้รับ engagement เยอะ

Top #Hashtag ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกระแสการเก็บภาษีคริปโตมีอยู่มากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดเจนจะเป็น #ภาษีคริปโต #แพงทั้งแผ่นดิน และอื่น ๆ หากใครสนใจสามารถไปตามดูใน Hashtag เกิดขึ้นได้เช่นกัน

ปัจจุบันประเด็นเรื่องนี้ยังคงสร้างความสับสนให้กับเหล่านักลงทุนว่าจะเก็บหรือไม่เก็บ กฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ยังคาใจผู้คน อนาคตนักลงทุนคริปโตต้องจับตาดูกันต่อไปว่าทิศทางการเรียกเก็บภาษีนี้จะเป็นประโยชน์หรือโทษกันแน่น ติดตามกันต่อไป

หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่าลืมกดติดตาม Real Smart กันไว้นะ เพราะข้อมูลดี ๆ ต้องที่ Real Smart เท่านั้น